สัญลักษณ์.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

มอก.1111-2535







การแสดงวันที่และเวลา
STANDARD FOR REPRESENTATION OF DATES AND TIMES





สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม UDC 529.2:003.62 ISBN 974-606-450-9



มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การแสดงวันที่และเวลา



มอก.1111-2535




สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 2461175






ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 125
วันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2535





คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 536
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประธานกรรมการ
นายปัญญา เปรมปรีดิ์
กรรมการ
นายสุริยัน ศรีสวัสดิ์กุลผู้แทนสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นางสาวมณี ปาริสุทธิกมล
นายเลอสรรค์ โบสุวรรณผู้แทนสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นายบุญชัย โสวรรณวณิชกุลผู้แทนสถาบันบริการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายกิตติพงษ์ เมฆวิจิตรแสงผู้แทนการสื่อสารแห่งประเทศไทย
น.ท. นภพร เวศอุรัย ร.น.ผู้แทนกรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
นายอัมพล กลิ่นฟุ้งผู้แทนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
นางสาวเพ็ญศรี กันตะโสพัตร์ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล
นายจำนงค์ ทองประเสริฐ
นายสุริยัน ดิษยาธิคมผู้แทนสมาคมมาตรฐานไทย
นายสวัสดิ์ แสงบางปลาผู้แทนสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายธงชัย ภิงคารวัฒน์ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย
นายชัชวลิต สรวารีผู้แทนบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
นายประกิต วิเชียรเจริญผู้แทนบริษัท โอลิมเปียไทย จำกัด
นายพรชัย โอฬาริกเดชผู้แทนบริษัท ไฟฟ้าฟิลิปส์แห่งประเทศไทย จำกัด
นายพิสิฐ สุขผลผู้แทนบริษัท ดาต้าแมท จำกัด
กรรมการและเลขานุการ
นายสุรยุทธ บุญมาทัต         ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



(2)



การแสดงวันที่และเวลาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการประมวลผลและการสื่อความหมายทั่วๆ ไปเพราะถ้าใช้
ระบบต่างกันจะทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน และไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ดังนั้นเพื่อให้การแสดงวันที่และ
เวลาที่ใช้ในประเทศไทยเป็นระบบเดียวกันโดยอิงระบบที่ใช้กันอยู่เป็นสากล จึงกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาห
กรรม การแสดงวันที่และเวลา ขึ้น
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดขึ้นโดยใช้เอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง
ISO 8601:1988Data elements and interchange formats - Information
interchange - Representation of dates and times






คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้พิจารณามาตรฐานนี้แล้ว เห็นสมควรเสนอรัฐมนตรีประกาศตาม
มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511






(3)




รูปครุฑ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 1828 (พ.ศ. 2535)

ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การแสดงวันที่และเวลา



      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การแสดงวันที่และ
      เวลา มาตรฐานเลขที่ มอก.1111-2535 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้


ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2535
สิปปนนท์ เกตุทัต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม





(5)




                  มอก. 1111-2535
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การแสดงวันที่และเวลา
  1. ขอบข่าย
  2. การแสดงวันที่
  3. การแสดงเวลา
  4. การแสดงวันที่ร่วมกับเวลา
  5. คาบของเวลา
  6. ภาคผนวก ก. ตารางตัวเลขลำดับวันในรอบปี
  7. ภาคผนวก ข. ตัวอย่างการแสดงวันที่ตามปฏิทิน วันที่ตามลำดับวันในรอบปี วันที่ตามลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์ เวลาของวัน วันที่และเวลา และคาบของเวลา



1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดระบบการแสดงวันที่ตามปฏิทิน วันที่ตามลำดับวันในรอบปี วันที่ตาม
ลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์ เวลา และคาบของเวลา เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลใน
ประเทศไทย

2. การแสดงวันที่


2.1 วันที่ตามปฏิทิน
2.1.1 องค์ประกอบ
วันที่ตามปฏิทินประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ปีพุทธศักราช เดือน และลำดับวันในรอบเดือน
2.1.2 ลำดับ
ใหัเรียงลำดับส่วนประกอบจากซ้ายไปขวา ดังนี้ ปีพุทธศักราช เดือน และลำดับวันในรอบเดือน
2.1.3 การแสดง
2.1.3.1 ปี ให้แสดงเป็นเลข 4 หลัก ในกรณีที่ไม่มีความสับสนเกี่ยวกับศตวรรษ อาจละ 2 หลักแรก
ซึ่งเรียกว่าตัวเลขแสดงศตวรรษก็ได้ ในทำนองเดียวกันสำหรับในกรณีที่ไม่มีความสับสนเกี่ยว
กับศตวรรษและทศวรรษ เลขปี 4 หลัก อาจลดลงมาเหลือเพียงหลักหน่วยเพียงหลักเดียวก็ได้
ดังนั้น เมื่อแสดงเลขปีเพียง 2 หลัก ปีในที่นี้จะหมายถึง "ลำดับปีในรอบศตวรรษ"
เมื่อแสดงเลขปีเพียง 1 หลัก ปีในที่นี้จะหมายถึง "ลำดับปีในรอบทศวรรษ"
หมายเหตุ ในกรณีที่ต้องการใช้ส่วนประกอบเป็นปีคริสต์ศักราช ให้ดูความสัมพันธ์ตามข้อ 2.4
2.1.3.2 เดือน ให้แสดงเป็นเลข 2 หลัก จาก 01 ซึ่งหมายถึง เดือนมกราคม ถึง 12 ซึ่งหมายถึง
เดือนธันวาคม



-1-



มอก. 1111-2535

2.1.3.3ลำดับวันในรอบเดือน ให้แสดงเป็นเลข 2 หลัก ตั้งแต่ 01 ซึ่งหมายถึงวันที่ 1 ถึง 31 ซึ่ง
หมายถึงวันที่ 31
2.1.4 ตัวแยก
ตามปกติในการแลกเปลี่ยนข้อมูลไม่จำเป็นต้องมีตัวแยกระหว่างส่วนประกอบ แต่อย่างไรก็ตาม หาก
ประสงค์จะมีตัวแยก อาจใช้ยัติภังค์( - ) ระหว่างส่วนประกอบในรูปแบบขยายได้ เพื่อช่วยให้เข้าใจ
ได้ง่ายขึ้น
2.1.5 รูปแบบและตัวอย่าง
2.1.5.1การแสดงแบบสมบูรณ์
วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528 จะแสดงได้ดังนี้
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ CCYYMMDD CCYY-MM-DD
ตัวอย่าง 252804122528-04-12
หมายเหตุ CC คือ ตัวเลขแสดงศตวรรษ
YY คือ ตัวเลขแสดงทศวรรษ และปีในรอบทศวรรษ
MM คือ ตัวเลขแสดงเดือน
DD คือ ตัวเลข แสดงลำดับวันในรอบเดือน
2.1.5.2 การแสดงแบบลดทอนความแม่นยำ
(1) เดือนจำเพาะ
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ CCYY-MM ไม่มี
ตัวอย่าง 2528-04ไม่มี
หมายเหตุให้ใช้ยัติภังค์ ( - )ระหว่างปี
กับเดือน เฉพาะรูปแบบพื้น
ฐานในกรณีนี้เท่านั้น



-2-



                  มอก. 1111-2535

(2) ปีจำเพาะ
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ CCYY ไม่มี
ตัวอย่าง 2528ไม่มี
(3) ศตวรรษจำเพาะ
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ CC ไม่มี
ตัวอย่าง 25ไม่มี
2.1.5.3 การแสดงแบบตัดตอน
ข้อ การแสดง พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ ตัวอย่าง รูปแบบ ตัวอ ย่าง
ก. วันจำเพาะในศตวรรษปัจจุบัน YYMMDD 280412 YY-MM-DD 28-04-12
ข. ปีและเดือนจำเพาะในศตวรรษปัจจุบัน -YYMM -2804 -YY-MM -28-04
ค. ปีจำเพาะในศตวรรษปัจจุบัน -YY - 28 ไม่มี ไม่มี
ง. วันจำเพาะของเดือน --MMDD --0412 --MM-DD --04-12
จ. เดือนจำเพาะ --MM --04 ไม่มี ไม่มี
ฉ. วันจำเพาะ ---DD ---12 ไม่มี ไม่มี

2.2 วันที่ตามลำดับวันในรอบปี
2.2.1 องค์ประกอบ
วันที่ตามลำดับวันในรอบปีประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ปีพุทธศักราช และลำดับวันในรอบปี
2.2.2 ลำดับ
ให้เรียงลำดับส่วนประกอบจากซ้ายไปขวา ดังนี้ ปีพุทธศักราช และลำดับวันในรอบปี
2.2.3 การแสดง
2.2.3.1 ปี ให้แสดงด้วยวิธีเดียวกับข้อ 2.1.3.1


-3-



มอก. 1111-2535

2.2.3.2ลำดับวันในรอบปี ให้แสดงเป็นเลข 3 หลัก จาก 001 ซึ่งหมายถึงวันที่ 1 มกราคม ถึง 365
ในปีปรกติสุรทิน หรือ 366 ในปีอธิกสุรทิน ซึ่งหมายถึงวันที่ 31 ธันวาคม รายละเอียดได้
แสดงไว้ในตารางที่ ก.1 และตารางที่ ก.2 ของภาคผนวก ก.
2.2.4 ตัวแยก
การใช้ตัวแยก ให้ดูข้อ 2.1.4
2.2.5 รูปแบบและตัวอย่าง
2.2.5.1การแสดงแบบสมบูรณ์
วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528 จะ แสดงได้ดังนี้
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ CCYYDDD CCYY-DDD
ตัวอย่าง 25281022528-102
หมายเหตุCC คือ ตัวเลขแสดงศตวรรษ
YY คือ ตัวเลขแสดงทศวรรษ และปีในรอบทศวรรษ
DDD คือ ตัวเลข แสดงลำดับวันในรอบปี
2.2.5.2 การแสดงแบบลดทอนความแม่นยำ
(1) ปีในรอบทศวรรษพร้อมกับลำดับวันในรอบปี
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ YYDDD YY-DDD
ตัวอย่าง 2810228-102
(2) ปีของทศวรรษใดๆ พร้อมกับลำดับวันในรอบปี
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ Y-DDD ไม่มี
ตัวอย่าง 8-102ไม่มี



-4-


                  มอก. 1111-2535

2.2.5.3 การแสดงแบบตัดตอน
(1) ปีจำเพาะในรอบศตวรรษและวันจำเพาะในรอบปีในศตวรรษปัจจุบัน
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ YYDDD YY-DDD
ตัวอย่าง 2810228-102
(2) แสดงวันอย่างเดียว
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ -DDD ไม่มี
ตัวอย่าง -102ไม่มี

2.3วันที่ตามลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์
2.3.1 องค์ประกอบ
วันที่ตามลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์ ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ ปี
พุทธศักราช ตัวระบุสัปดาห์(W) ลำดับสัปดาห์ในรอบปี และลำดับวันในรอบสัปดาห์
2.3.2ลำดับ
ให้เรียงลำดับส่วนประกอบจากซ้ายไปขวา ดังนี้ ปีพุทธศักราช ตัวระบุสัปดาห์(W) ลำดับสัปดาห์ในรอบปี
และลำดับวันในรอบสัปดาห์
2.3.3 การแสดง
2.3.3.1 ปี ให้แสดงวิธีเดียวกับข้อ 2.1.3.1
2.3.3.2 ตัวระบุสัปดาห์(W) ให้แสดงนำหน้าลำดับสัปดาห์ในรอบปี
2.3.3.3 ลำดับสัปดาห์ในรอบปี ให้แสดงเป็นเลข 2 หลัก สัปดาห์แรกในรอบปีให้แสดงเป็น [01] และ
สัปดาห์ต่อไปให้แสดงเป็นหมายเลขเพิ่มขึ้นตามลำดับ
หมายเหตุ สัปดาห์แรกของปี หมายถึง สัปดาห์ที่มีวันพฤหัสบดีแรก
2.3.3.4 ลำดับวันในรอบสัปดาห์ ให้แสดงเป็นเลข 1 หลัก โดยวันจันทร์ในรอบสัปดาห์ใดๆ ให้แสดง
ด้วยเลข 1 และวันต่อมาในรอบสัปดาห์เดียวกันให้แสดงเป็นหมายเลขเพิ่มขึ้นตามลำดับจนถึง
วันอาทิตย์ ให้แสดงด้วยเลข 7



-5-


มอก. 1111-2535

2.3.4 ตัวแยก
การใช้ตัวแยก ให้ดูข้อ 2.1.4
2.3.5 รูปแบบและตัวอย่าง
วันศุกร์สัปดาห์ที่ 15 ปี พ.ศ. 2528 จะแสดงได้ดังนี้
2.3.5.1 การแสดงแบบสมบูรณ์
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ CCYYWwwD CCYY-Www-D
ตัวอย่าง 2528W1552528-W15-5
หมายเหตุ W คือ ตัวระบุสัปดาห์
ww คือ ตัวเลข แสดงลำดับสัปดาห์ในรอบปี
Dคือ ตัวเลข แสดงลำดับวันในรอบสัปดาห์
2.3.5.2การแสดงแบบลดทอนความแม่นยำ
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ CCYYWww CCYY-Www
ตัวอย่าง 2528W152528-W15
2.3.5.3 การแสดงแบบตัดตอน
ข้อ การแสดง พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ ตัวอย่าง รูปแบบ ตัวอย่าง
ก. ปีในรอบศตวรรษ สัปดาห์ในรอบปีและวันในรอบสัปดาห์
ในศตวรรษปัจจุบัน
YYWwwD 28W155 YY-Www-D 28-W15-5
ข. ปีในรอบศตวรรษและสัปดาห์ในรอบปีอย่างเดียว
ในศตวรรษปัจจุบัน
YYWww 28W15 YY-Www 28-W15
ค. ปีในรอบทศวรรษปัจจุบัน สัปดาห์และวันอย่างเดียว -YWwwD -8W155 -Y-Www-D -8-W15-5
ง. สัปดาห์ในรอบปีและวันในรอบสัปดาห์อย่างเดียวในปีปัจจุบัน -WwwD -W155 -Www-D -W15-5
จ. สัปดาห์ในรอบปีอย่างเดียวในปีปัจจุบัน - Www -W15 ไม่มี ไม่มี
ฉ. วันในรอบสัปดาห์อย่างเดียวในสัปดาห์ปัจจุบัน -W-D -W-5 ไม่มี ไม่มี




-6-



                  มอก. 1111-2535

2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างวันที่ตามมาตรฐานนี้กับ ISO 8601:1988
ในกรณีที่ต้องการแสดงปีเป็นปีคริสต์ศักราช ให้ใช้ปีพุทธศักราชในรูปของเลข 4 หลัก ลบด้วย 543
ตัวอย่าง วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528
แสดงเป็นวันที่ตามปฏิทินได้เป็น 25280412 และแสดงเป็นวันที่ตามลำดับวันในรอบปีได้เป็น
2528102 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อแปลงเป็นวันที่ตาม ISO 8601:1988 ก็จะเป็น
ซึ่งวันที่ตามปฏิทิน 19850412 และตามลำดับในรอบปี 1985102 ที่คำนวณได้ ก็คือวันที่
12 เมษายน ค.ศ. 1985 นั่นเอง

3. การแสดงเวลา


3.1 เวลาท้องถิ่น
3.1.1องค์ประกอบ
ประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ชั่วโมง นาที และวินาที
3.1.2ลำดับ
ให้เรียงลำดับส่วนประกอบจากซ้ายไปขวา ดังนี้ ชั่วโมง นาที วินาที
3.1.3 การแสดง
3.1.3.1 ชั่วโมง ให้แสดงเป็นเลข 2 หลัก จาก 00 ถึง 24
3.1.3.2นาที ให้แสดงเป็นเลข 2 หลัก จาก 00 ถึง 59
3.1.3.3 วินาที ให้แสดงเป็นเลข 2 หลัก จาก 00 ถึง 59
3.1.4 ตัวแยก
อาจใส่ทวิภาค (:) ระหว่างชั่วโมง นาที วินาที ก็ได้
3.1.5 ทศนิยม
ในการใช้งานบางประเภท ถ้าจำเป็นก็อาจแสดงนาทีกับวินาทีเป็นเศษนิยมของชั่วโมง วินาที
เป็นเศษทศนิยมของนาที และส่วนของวินาทีเป็นเศษทศนิยมของวินาทีได้ โดยใช้มหัพภาค(.) หรือ
จุลภาค(,) แต่ในมาตรฐานนี้แนะนำให้ใช้มหัพภาค ถ้าขนาดของเลขจำนวนมีค่าน้อยกว่า 1 ให้ใช้



-7-


มอก. 1111-2535

เลขศูนย์สองตัวนำหน้ามหัพภาค(หรือจุลภาค) จำนวนตำแหน่งทศนิยมให้ตกลงกันระหว่างผู้ที่เกี่ยว
ข้อง โดยขึ้นอยู่กับการใช้งาน
3.1.6 รูปแบบและตัวอย่าง
เวลา 23 นาฬิกา 20 นาที 50 วินาที จะแสดงได้ดังนี้
3.1.6.1การแสดงแบบสมบูรณ์
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ hhmmss hh:mm:ss
ตัวอย่าง 23205023:20:50
หมายเหตุ hh คือ ตัวเลขแสดงชั่วโมง
mm คือ ตัวเลขแสดงนาที
ssคือ ตัวเลขแสดงวินาที
3.1.6.2 การแสดงแบบลดทอนความแม่นยำ
พื้นฐานขยาย
รูปแบบ ตัวอย่าง รูปแบบ ตัวอย่าง
ละการแสดงวินาที hhmm 2320hh:mm23:20
ละการแสดงนาทีกับวินาที hh23ไม่มีไม่มี
3.1.6.3 การแสดงทศนิยม
เวลา 23 นาฬิกา 20 นาที 50.5 วินาที จะแสดงได้ดังนี้
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ hhmmss.s hh:mm:ss.s
ตัวอย่าง 232050.523:20:50.5
ซึ่งถ้าแปลง 50.5 วินาทีเป็นเศษทศนิยมของนาที จะแสดงได้ดังนี้
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ hhmm.m hh:mm.m
ตัวอย่าง 2320.823:20.8



-8-


                  มอก. 1111-2535

ซึ่งถ้าแปลง 20.8 นาทีเป็นเศษทศนิยมของชั่วโมง จะแสดงได้ดังนี้
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ hh.h ไม่มี
ตัวอย่าง 23.3ไม่มี
3.1.6.4 การแสดงแบบตัดตอน
เวลา 23 นาฬิกา 20 นาที 50.5 วินาที จะแสดงได้ดังนี้
ก. นาทีและวินาทีจำเพาะของชั่วโมง
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ -mmss -mm:ss
ตัวอย่าง -2050-20:50
ข. นาทีจำเพาะของชั่วโมง
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ -mm ไม่มี
ตัวอย่าง -20ไม่มี
ค. วินาทีจำเพาะของนาที
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ --ss ไม่มี
ตัวอย่าง --50ไม่มี
ง. ชั่วโมงจำเพาะของวันและทศนิยมของชั่วโมง
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ hh.h ไม่มี
ตัวอย่าง 23.3ไม่มี



-9-


มอก. 1111-2535

จ. นาทีจำเพาะของชั่วโมงและทศนิยมของนาที
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ -mm.m ไม่มี
ตัวอย่าง -20.8ไม่มี
ฉ. นาทีและวินาทีจำเพาะของชั่วโมงและทศนิยมของวินาที
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ -mmss.s -mm:ss.s
ตัวอย่าง -2050.5-20:50.5
ช. วินาทีจำเพาะของนาทีและทศนิยมของวินาที
พื้นฐาน ขยาย
รูปแบบ --ss.s ไม่มี
ตัวอย่าง --50.5ไม่มี

3.2 เที่ยงคืน
แสดงได้เป็น 2 แบบคือ
3.2.1 000000 หรือ 00:00:00 (เริ่มวันใหม่)
3.2.2 240000 หรือ 24:00:00 (สิ้นสุดวัน)
หมายเหตุ เวลาเที่ยงคืน หรือ 24:00:00 ของวันใดวันหนึ่งตรงกับเวลา 00:00:00 ของวันถัดไป

3.3 เวลาสากล (Coordinated Universal Time, UTC)
3.3.1 ให้แสดงเวลาด้วยวิธีเดียวกับข้อ 3.1 แล้วตามด้วยตัวระบุโซนเวลา(Z)
ตัวอย่าง เวลาสากล 23 นาฬิกา 20 นาที 30 วินาที จะแสดงได้ดังนี้
ในรูปแบบพื้นฐาน 232030Z หรือ
2320Z หรือ
23Z
ในรูปแบบขยาย23:20:30Z หรือ
23:20Z



-10-


                  มอก. 1111-2535

3.3.2 ความแตกต่างระหว่างเวลาท้องถิ่นกับเวลาสากล
เมื่อต้องการที่จะชี้ความแตกต่างระหว่างเวลาท้องถิ่นกับเวลาสากล ให้ผนวกการแสดงความแตก
ต่างนั้นเข้าทางขวาของการแสดงเวลาท้องถิ่นโดยไม่เว้นวรรค
ให้แสดงความแตกต่างระหว่างเวลาท้องถิ่นกับเวลาสากลเป็นชั่วโมงและนาที หรือชั่วโมงอย่าง
เดียว โดยไม่ขึ้นกับความแม่นยำของการแสดงเวลาท้องถิ่นที่ใช้แสดงร่วมกัน ถ้าเวลาท้องถิ่นเร็ว
กว่าเวลาสากล ให้ใช้เครื่องหมาย + นำหน้า และถ้าเวลาท้องถิ่นช้ากว่าเวลาสากล ให้ใช้เครื่อง
หมาย - นำหน้า
ตัวอย่าง เวลาท้องถิ่นในประเทศไทย (ซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล 7 ชั่วโมง) 15 นาฬิกา 27 นาที
46 วินาที จะแสดงเป็นความแตกต่างกับเวลาสากลได้ดังนี้
ในรูปแบบพื้นฐาน152746+0700 หรือ
152746+07
ในรูปแบบขยาย15:27:46+07:00 หรือ
15:27:46+07

4. การแสดงวันที่ร่วมกับเวลา


4.1 วันที่ตามปฏิทินกับเวลาท้องถิ่น
ประกอบด้วย ปี เดือน วัน ตัวระบุเวลา(T) ชั่วโมง นาที วินาที ตามลำดับ
ตัวอย่าง วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528 เวลา 23 นาฬิกา 50 นาที 30 วินาที จะแสดงแบบสมบูรณ์ได้
ดังนี้
ในรูปแบบพื้นฐาน 25280412T235030
ในรูปแบบขยาย 2528-04-12T23:50:30
4.2 วันที่ตามลำดับวันในรอบปีกับเวลาท้องถิ่น
ประกอบด้วย ปี ลำดับวันในรอบปี ตัวระบุเวลา(T) ชั่วโมง นาที วินาที ตามลำดับ
ตัวอย่าง วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528 เวลา 23 นาฬิกา 50 นาที 30 วินาที จะแสดงแบบสมบูรณ์ได้
ดังนี้
ในรูปแบบพื้นฐาน 2528102T235030
ในรูปแบบขยาย 2528-102T23:50:30



-11-


มอก. 1111-2535

4.3 วันที่ตามลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์กับเวลาท้องถิ่น
ประกอบด้วย ปี ลำดับสัปดาห์ในรอบปี ลำดับวันในรอบสัปดาห์ ตัวระบุเวลา(T) ชั่วโมง นาที วินาที
ตามลำดับ
ตัวอย่าง วันศุกร์สัปดาห์ที่ 15 ปี พ.ศ. 2528 เวลา 23 นาฬิกา 50 นาที 30 วินาที จะแสดงแบบ
สมบูรณ์ได้ดังนี้
ในรูปแบบพื้นฐาน 2528W155T235030
ในรูปแบบขยาย 2528-W15-5T23:50:30
หมายเหตุ 1. ต้องไม่แทนส่วนประกอบของวันด้วยการแสดงแบบลดทอนความแม่นยำ และต้องไม่ตัดทอนส่วน
ประกอบของเวลาในการแสดงที่แสดงวันที่ร่วมกับ เวลา
2. เมื่อมีการตัดส่วนประกอบของวันของการแสดงวันที่ร่วมกับเวลาทิ้ง ไม่จำเป็นต้องแทนที่ส่วน
ประกอบที่อยู่ทางซ้ายที่ละไว้ด้วยยัติภังค์( - )
3. เมื่อข้อความไม่ได้แสดงว่าเป็นการแสดงเวลาอย่างเดียวโดยชัดเจน และถ้าไม่ได้ใช้รูปแบบ
ขยายที่มีทวิภาค ( : ) จึงจำเป็นต้องขึ้นต้นการแสดงด้วยตัวระบุเวลา(T)


5. คาบของเวลา


5.1 วิธีการระบุคาบ
ให้แสดงคาบของเวลาโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
5.1.1 กำหนดจุดเริ่มต้นจำเพาะและจุดจบจำเพาะ
5.1.2 กำหนดปริมาณเวลา แต่ไม่กำหนดจุดเริ่มต้นจำเพาะหรือจุดจบจำเพาะ
5.1.3 กำหนดจุดเริ่มต้นจำเพาะและปริมาณเวลา
5.1.4 กำหนดปริมาณเวลาและจุดจบจำเพาะ
5.2ตัวแยกและตัวระบุ
5.2.1 ใช้ทับ(/) เพื่อแยกส่วนประกอบ 2 ส่วน ในแต่ละส่วนประกอบตามข้อ 5.1.1 ข้อ 5.1.3 และข้อ
5.1.4
5.2.2 สำหรับข้อ 5.1.2 ข้อ 5.1.3 และข้อ 5.1.4 ให้ใช้ตัวระบุคาบ(P) นำหน้าปริมาณเวลาโดยไม่
เว้นวรรค
5.2.3 ตัวระบุอื่นๆ (และยัติภังค์ (-) เมื่อใช้บอกส่วนประกอบที่ละไว้ ) ต้องใช้ตามข้อ 5.3



-12-


                  มอก. 1111-2535

5.3 การแสดงแบบสมบูรณ์
5.3.1 การแสดงคาบโดยจุดเริ่มต้นและจุดจบ
เมื่อการนำไปใช้งานระบุอย่างชัดเจนถึงความต้องการการแสดงคาบเวลาแบบสมบูรณ์ โดยจุดเริ่ม
ต้นและจุดจบ ให้แสดงตัวอักษรผสมตัวเลขจำนวนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง คาบคาบหนึ่งเริ่มต้นที่ 23 นาฬิกา 20 นาที 50 วินาที ของวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.
2528 และจบที่ 10 นาฬิกา 30 นาที ของวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2528 จะแสดงได้
ดังนี้
ในรูปแบบพื้นฐาน 25280412T232050/25280625T103000
5.3.2 การแสดงคาบโดยปริมาณเวลา
5.3.2.1 ปริมาณเวลาที่กำหนดให้ของคาบ ไม่ว่าจะกำหนดจุดเริ่มต้นหรือจุดจบหรือไม่ก็ตาม ให้แทนด้วย
กลุ่มตัวเลขและตัวระบุที่ไม่จำกัดความยาว นำหน้าด้วยตัวระบุคาบ (P) ทั้งนี้โดยจำนวนปีให้
ตามด้วยตัวระบุ Y จำนวนเดือนให้ตามด้วยตัวระบุ M จำนวนสัปดาห์ให้ตามด้วยตัวระบุ W
และจำนวนวันให้ตามด้วยตัวระบุ D ส่วนที่รวมส่วนประกอบของเวลาให้นำหน้าด้วยตัวระบุ
เวลา(T) จำนวนชั่วโมงให้ตามด้วยตัวระบุ H จำนวนนาทีให้ตามด้วยตัวระบุ M และจำนวน
วินาทีให้ตามด้วยตัวระบุ S
ตัวอย่าง ปริมาณเวลา 2 ปี 10 เดือน 15 วัน 10 ชั่วโมง 30 นาที กับอีก 20 วินาที จะ
แสดงได้ดังนี้
P2Y10M15DT10H30M20S
ตัวอย่าง คาบ 6 สัปดาห์ จะแสดงได้ดังนี้
P6W
5.3.2.2 รูปแบบเผื่อเลือก
ถ้าต้องการด้วยเหตุผลพิเศษ ปริมาณเวลาอาจแสดงให้เป็นไปตามรูปแบบที่ใช้สำหรับคะแนน
เวลาที่ระบุไว้ในมาตรฐานนี้ คือ ถ้าจะแสดงเป็นเดือน ค่าของเดือนก็ต้องไม่เกิน 12 ถ้า
จะแสดงเป็นวัน ค่าของวันก็ให้ใช้เดือนละ 30 วัน ถ้าจะแสดงเป็นชั่วโมงก็ให้ใช้วันละ 24
ชั่วโมง ชั่วโมงละ 60 นาที และนาทีละ 60 วินาที ตามลำดับ ถ้าเกินไปจากหน่วยเหล่านี้
แล้วก็ให้ทดไปสู่หน่วยที่ใหญ่กว่าตามลำดับ



-13-


มอก. 1111-2535

5.3.3 การแสดงคาบโดยจุดเริ่มต้นและปริมาณเวลา
ตัวอย่าง คาบ 1 ปี 2 เดือน 15 วัน 12 ชั่วโมงครึ่ง เริ่มต้นในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528
เวลา 23 นาฬิกา 20 นาที 50 วินาที จะแสดงได้ดังนี้
ในรูปแบบพื้นฐาน 25280412T232050/P1Y2M15DT12H30M
5.3.4 การแสดงคาบโดยปริมาณเวลาและจุดจบ
ตัวอย่าง คาบ 1 ปี 2 เดือน 15 วัน 12 ชั่วโมงครึ่ง จบลงในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528
เวลา 23 นาฬิกา 20 นาที 50 วินาที จะแสดงได้ดังนี้
ในรูปแบบพื้นฐาน P1Y2M15DT12H30M/25280412T232050





-14-



                  มอก. 1111-2535
ภาคผนวก ก.
ตารางตัวเลขลำดับวันในรอบปี

ตารางที่ ก.1 ตารางตัวเลขลำดับวันในรอบปีในปีปรกติสุรทิน
(ข้อ 2.2.3.2)

ลำดับวัน
ในรอบเดือน
ลำดับวันในรอบปี
ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.
1001032060091121 152182213244274305 335
2002033061092122 153183214245275306 336
3003034062093123 154184215 246276307337
4004035063094124 155185216 247277308338
5005036064095125 156186217 248278309339
6006037065096126 157187218 249279310340
7007038066097127 158188219 250280311341
8008039067098128 159189220 251281312342
9009040068 099129 160190221 252282313343
10010041069100130 161191222 253283314344
11011042070101131 162192223 254284315345
12012043071102132 163193224 255285316346
13013044072103133 164194225 256286317347
14014045073104134 165195226 257287318348
15015046074105135 166196227 258288319349
16016047075106136 167197228 259289320350
17017048076107137 168198229 260290321351
18018049077108138 169199230 261291322352
19019050078109139 170200231 262292323353
20020051079110140 171201232 263293324354
21021052080111141 172202233 264294325355
22022053081112142 173203234 265295326356
23023054082113143 174204235 266296327357
24024055083114144 175205236 267297328358
25025056084115145 176206237 268298329359
26026057085116146 177207238 269299330360
27027058086117147 178208239 270300331361
28028059087118148 179209240 271301332362
29029088119149 180210241 272302333363
30030089120150 181211242 273303334364
31031090151 212243304365



-15-


มอก. 1111-2535

ตารางที่ ก.2 ตารางตัวเลขลำดับวันในรอบปีในปีอธิกสุรทิน (กุมภาพันธ์มี 29 วัน)
(ข้อ 2.2.3.2)

ลำดับวัน
ในรอบเดือน
ลำดับวันในรอบปี
ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.
1001032061092122 153183214245275306 336
2002033062093123 154184215246276307 337
3003034063094124 155185216 247277308338
4004035064095125 156186217 248278309339
5005036065096126 157187218 249279310340
6006037066097127 158188219 250280311341
7007038067098128 159189220 251281312342
8008039068099129 160190221 252282313343
9009040069 100130 161191222 253283314344
10010041070101131 162192223 254284315345
11011042071102132 163193224 255285316346
12012043072103133 164194225 256286317347
13013044073104134 165195226 257287318348
14014045074105135 166196227 258288319349
15015046075106136 167197228 259289320350
16016047076107137 168198229 260290321351
17017048077108138 169199230 261291322352
18018049078109139 170200231 262292323353
19019050079110140 171201232 263293324354
20020051080111141 172202233 264294325355
21021052081112142 173203234 265295326356
22022053082113143 174204235 266296327357
23023054083114144 175205236 267297328358
24024055084115145 176206237 268298329359
25025056085116146 177207238 269299330360
26026057086117147 178208239 270300331361
27027058087118148 179209240 271301332362
28028059088119149 180210241 272302333363
29029060089120150 181211242 273303334364
30030090121151 182212243 274304335365
31031091152 213244305366



-16-


                  มอก. 1111-2535
ภาคผนวก ข.
ตัวอย่างการแสดงวันที่ตามปฏิทิน วันที่ตามลำดับวันในรอบปี
วันที่ตามลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์ เวลาของวัน วันที่และเวลา และคาบของเวลา

ข.1  วันที่ตามปฏิทิน วันที่ตามลำดับวันในรอบปี และวันที่ตามลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์

ลำดับรูปแบบพื้นฐานรูปแบบขยายคำอธิบาย
1วันที่ตามปฏิทิน - 12 เมษายน พ.ศ. 2528
252804122528-04-12  สมบูรณ์
28041228-04-12  ปีในรอบทศวรรษพร้อมกับเดือนและวันอย่างเดียว
--0412--04-12  เดือนและวันของปีใด ๆ
---12ไม่มี  วันอย่างเดียวของเดือนใดๆ
2วันที่ตามลำดับวันในรอบปี - 12 เมษายน พ.ศ. 2528
25281022528-102  สมบูรณ์
2810228-102  ปีในรอบทศวรรษพร้อมกับลำดับวันในรอบปี
8-102ไม่มี  ปีของทศวรรษใดๆ พร้อมกับลำดับวันในรอบปี
-102ไม่มี  ลำดับวันในรอบปีของปีใดๆ
3วันที่ตามลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์ - วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528
2528W1552528-W15-5   สมบูรณ์
28W15528-W15-5  ปีในรอบทศวรรษพร้อมกับสัปดาห์และวัน
-8W155-8-W15-5  ปีของทศวรรษใดๆ พร้อมกับสัปดาห์และวัน
-W155-W15-5  สัปดาห์และวันของปีใดๆ
-W-5ไม่มี  สัปดาห์ใดๆ และวันใดๆ ของสัปดาห์นั้น
4ลำดับสัปดาห์ในรอบปี - สัปดาห์ที่ 15 ของปี พ.ศ.2528
2528W152528-W15  สมบูรณ์
28W1528-W15  ปีในรอบทศวรรษและสัปดาห์
-8W15-8-W15  ปีของทศวรรษใดๆ และสัปดาห์ของปีนั้น
-W15ไม่มี  สัปดาห์จำเพาะของปีใดๆ
5ลำดับเดือนในรอบปี - เมษายน พ.ศ. 2528
2528-04ไม่มี  สมบูรณ์
-2804-28-04  ปีในรอบทศวรรษและเดือน
--04ไม่มี  เดือนจำเพาะของปีใดๆ
6ปีตามปฏิทิน - พ.ศ. 2528
2528ไม่มี  สมบูรณ์
-28ไม่มี  ปีจำเพาะของศตวรรษใดๆ



-17-


มอก. 1111-2535

ข.2

เวลาของวัน

ลำดับรูปแบบพื้นฐานรูปแบบขยายคำอธิบาย
เวลาท้องถิ่นของวัน
1เวลาท้องถิ่น 15 นาฬิกา 27 นาที 46 วินาที
15274615:27:46  สมบูรณ์
-2746-27:46  นาทีและวินาทีจำเพาะของชั่วโมงใดๆ
--46ไม่มี  วินาทีจำเพาะของนาทีใดๆ
2ตัดตอนเป็นชั่วโมงและนาที
152815:28  สมบูรณ์
-28ไม่มี  นาทีจำเพาะของชั่วโมงใดๆ
3ตัดตอนเป็นชั่วโมง
15ไม่มี  ชั่วโมงจำเพาะของวันใดๆ
เวลาท้องถิ่นพร้อมกับทศนิยม
4เวลาท้องถิ่น 15 นาฬิกา 27 นาที 35 วินาทีครึ่ง
152735.515:27:35.5  สมบูรณ์
-2735.527:35.5  นาทีของชั่วโมง วินาทีพร้อมกับทศนิยม
--35.5ไม่มี  วินาทีพร้อมกับทศนิยมของนาทีใด ๆ
15.46ไม่มี  ชั่วโมงพร้อมกับทศนิยมของชั่วโมงนั้น
-27.59ไม่มี  นาทีพร้อมกับทศนิยมของนาทีนั้น
-.59ไม่มี  ทศนิยมของนาที
--.5ไม่มี  ทศนิยมของวินาที
5เที่ยงคืน - เริ่มวันใหม่
00000000:00:00  สมบูรณ์
000000:00  ชั่วโมงและนาทีอย่างเดียว
6เที่ยงคืน - สิ้นสุดวัน
24000024:00:00  สมบูรณ์
240024:00  ชั่วโมงและนาทีอย่างเดียว
เวลาสากล(UTC)
7เวลาสากล 23 นาฬิกา 20 นาที 30 วินาที
232030Z23:20:30Z  สมบูรณ์
2320Z23:20Z  ชั่วโมงและนาทีในเวลาสากล
23Zไม่มี  ชั่วโมงในเวลาสากล
ความแตกต่างระหว่างเวลาท้องถิ่นกับเวลาสากล
8เวลาท้องถิ่นในประเทศไทย (เร็วกว่าเวลาสากล 7 ชั่วโมง) 15 นาฬิกา 27 นาที 46 วินาที
152746+070015:27:46+07:00  สมบูรณ์
152746+0715:27:46+07  แสดงชั่วโมงที่ต่างกันอย่างเดียว
9เวลาท้องถิ่นในนิวยอร์ก(ช้ากว่าเวลาสากล 5 ชั่วโมง) 15 นาฬิกา 27 นาที 46 วินาที
152746-050015:27:46-05:00  สมบูรณ์
152746-0515:27:46-05  แสดงชั่วโมงที่ต่างกันอย่างเดียว



-18-


                  มอก. 1111-2535

ข.3

วันที่ร่วมกับเวลา

ลำดับรูปแบบพื้นฐานรูปแบบขยายคำอธิบาย
1วันที่ตามปฏิทินร่วมกับเวลาท้องถิ่นของวัน
25280412T2350302528-04-12T23:50:30  สมบูรณ์
280412T23503028-04-12T23:50:30  ภายในปีจำเพาะของศตวรรษใดๆ
280412T235028-04-12T23:50  เหมือนบรรทัดบนแต่มีเฉพาะชั่วโมงกับนาที
0412T2304-12T23:50  ภายในเดือนจำเพาะของปีใดๆ มีเฉพาะ
  ชั่วโมงกับนาที
0412T2304-12T23  เหมือนบรรทัดบนแต่มีเฉพาะชั่วโมง
12T2312T23  ภายในวันจำเพาะของเดือนใดๆ มีเฉพาะ
  ชั่วโมง
280412T2328-04-12T23  ภายในวันจำเพาะของศตวรรษใดๆ มี
  เฉพาะชั่วโมง
12T23503012T23:50:30  ภายในวันจำเพาะของเดือนใดๆ ปีใดๆ
  และศตวรรษใดๆ
2วันที่ตามลำดับวันในรอบปีร่วมกับเวลาท้องถิ่นของวัน
2528102T2350302528-102T23:50:30  สมบูรณ์
28102T23503028-102T23:50:30  ภายในปีจำเพาะของศตวรรษใดๆ
28102T235028-102T23:50  เหมือนบรรทัดบนแต่มีเฉพาะชั่วโมงกับนาที
102T2350102T23:50  เหมือนบรรทัดบน ภายในวันตามลำดับที่
  จำเพาะในปีใดๆ  
102T23102T23  เหมือนบรรทัดบนแต่มีเฉพาะชั่วโมง
28102T2328-102T23  ภายในปีจำเพาะของศตวรรษใดๆ แต่มี
  เฉพาะชั่วโมง  
102T235030102T23:50:30  ภายในวันตามลำดับที่จำเพาะในปีใดๆ ของ
  ศตวรรษใดๆ  
3ลำดับสัปดาห์ในรอบปีและลำดับวันในรอบสัปดาห์ร่วมกับเวลาท้องถิ่นของวัน
2528W155T2350302528-W15-5T23:50:30  สมบูรณ์
28W155T23503028-W15-5T23:50:30  ภายในปีจำเพาะของศตวรรษใดๆ
28W155T235028-W15-5T23:50  เหมือนบรรทัดบนแต่มีเฉพาะชั่วโมงกับนาที
W155T2350W15-5T23:50  เหมือนบรรทัดบน ปีใดๆ
W155T23W15-5T23  เหมือนบรรทัดบนแต่มีเฉพาะชั่วโมง
28W155T2328-W15-5T23  ภายในปีจำเพาะของศตวรรษใดๆ มี
  เฉพาะชั่วโมง
W155T235030W15-5T23:50:30  ภายในสัปดาห์จำเพาะและวันของสัปดาห์นั้น
  ในศตวรรษและปีใดๆ
4ลำดับวันในรอบสัปดาห์ร่วมกับ เวลาท้องถิ่นของวัน
5T2350305T23:50:30  แสดงวันศุกร์ใดๆ อย่างสมบูรณ์
5T23505T23:50  มีเฉพาะชั่วโมงกับนาที
5T23ไม่มี  มีเฉพาะชั่วโมง



-19-


มอก. 1111-2535

ข.4

คาบของเวลา

ลำดับรูปแบบพื้นฐานรูปแบบขยาย
คาบที่มีจุดเริ่มต้นจำเพาะและจุดจบจำเพาะ
1คาบคาบหนึ่งเริ่ม ต้นที่ 23 นาฬิกา 20 นาที 50 วินาทีของวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528 และจบ
ที่ 10 นาฬิกา 30 นาทีของวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2528
25280412T232050/25280625T1030002528-04- 12T23:20:50/2528-06-25T10:30:00
2คาบคาบหนึ่งเริ่มต้นในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528 และจบในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2528
25280412/06252528-04-12/06-25
ช่วงเวลาของคาบในรูปของปริมาณของเวลา
3ช่วงเวลา 2 ปี 10 เดือน 15 วัน 10 ชั่วโมง 20 นาทีกับอีก 30 วินาที
P2Y10M15DT10H20M30Sไม่มี
41 ปี 6 เดือน
P1Y6Mไม่มี
572 ชั่วโมง
PT72Hไม่มี
คาบที่มีจุดเริ่มต้นจำเพาะและช่วงเวลาจำเพาะ
6คาบคาบหนึ่งเป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน 15 วัน 12 ชั่วโมง เริ่มต้นในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.
2528 เวลา 23 นาฬิกา 20 นาที 50 วินาที
25280412T232050/P1Y2M15DT12H2528-04- 12T23:20:50/P1Y2M15DT12H
คาบที่มีช่วงเวลาจำเพาะและจุดจบจำเพาะ
7คาบคาบหนึ่งเป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน 15 วัน 12 ชั่วโมง จบลงในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2528
เวลา 23 นาฬิกา 20 นาที 50 วินาที
P1Y2M15DT12H/25280412T232050P1Y2M15DT12H/2528-04-12T23:20:50








-20-


สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลในเว็บเพจนี้
ดังนั้นก่อนการใช้งานจริง โปรดตรวจสอบความถูกต้องกับเอกสารฉบับจริง (Hard Copy) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอีกครั้ง


ผู้พัฒนา Homepage : ธีรศักดิ์ วิชกุล
บรรณาธิการ(Internet Version) : จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ