Logo - NECTEC and Backto NECTEC HomepageNational Electronics and Computer Technology

Research & Developmenticon หน้าหลัก
icon สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
icon OMOP
icon เทคโนโลยี ECTI
icon สรุปผลงานวิจัยและพัฒนา ECTI-A
icon สาขาอิเล็กทรอนิกส์
icon สาขาคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณ
icon สาขาโทรคมนาคม
icon สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
icon โครงการพิเศษ
icon ทุนวิจัย
icon ถ่ายทอดเทคโนโลยี
icon พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
icon นโยบายและโครงสร้างพื้นฐาน

สิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร

รายการที่

1

วันที่ยื่นต่อกรม

4/7/2003

เลขคำขอ

0301002489 (083590)

วันที่ได้รับฯ

16/6/2006

ประเทศ

TH

ผลงาน

อุปกรณ์และวิธีการควบคุมการวัดอุณหภูมิของวัตถุด้วยภาพรังสีความร้อน

ผู้ยื่นคำขอ

1. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร 2. สุธี ผู้เจริญชนะชัย 3. พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ 4. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล 5. บุญส่ง สุตะพันธ์

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

การจับภาพความร้อนที่มีความแม่นยำสูงในสิ่งประดิษฐ์นี้ใช้วิธีการเทียบกับแหล่งกำเนิดรังสีความร้อนอ้างอิงที่ควบคุมได้ โดยการถ่ายภาพวัตถุด้วยกล้องที่ไวต่อความร้อน พร้อมๆ กับการถ่ายภาพความร้อนของแหล่งกำเนิดความร้อนอ้างอิง ทำให้สามารถหาค่าของอุณหภูมิของวัตถุได้แม่นยำกว่าวิธีการอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นระบบปิด แหล่งกำเนิดรังสีความร้อนอ้างอิงเป็นได้ทั้งแบบชนิดเดี่ยว หรือ แบบอาร์เรย์ที่เรียงตัวกันในหนึ่งมิติ และ สองมิติ

 

รายการที่

2

วันที่ยื่นต่อกรม

4/7/2003

เลขคำขอ

0301002488 (083589)

วันที่ได้รับฯ

16/6/2006

ประเทศ

TH

ผลงาน

อุปกรณ์เพิ่มจำนวนช่องสัญญาณวัดในเครื่องมือวัด

ผู้ยื่นคำขอ

อดิสร เตือนตรานนท์

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเพิ่มจำนวนช่องสัญญาณวัดโดยการเปลี่ยนหรือสลับทิศทางเดินของแสงในเครื่องมือวัดแถบคลื่นแสง (Spectrophotometer) ที่สร้างโดยใช้ขบวนการสร้างระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาคเชิงพาณิชย์ที่เรียกว่า Multi-User MEMS Process (MUMPs) และการประกอบแบบอัตโนมัติหลังการสร้างโดยใช้การรวมตัวเป็นหยดของตะกั่ว (Self assembly by solders) โดยส่วนประกอบหลักของอุปกรณ์คือส่วนกระจกขนาดเล็กหมุนด้วยแกนเส้นตรงด้วยแรงดึงดูดจากไฟฟ้าสถิตย์ระหว่างกระจกกับขั้วด้านล่าง โดยที่ตำแหน่งมุมเอียงของกระจกสามารถถูกควบคุมด้วยความต่างศักย์ไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถเปลี่ยนหรือสลับทิศทางเดินของแสง เพื่อเพิ่มจำนวนช่องรับสัญญาณตรวจวัด (Probed Signal) โดยการใช้หลักการมัลติเพล็กซ์ (Multiplexing) หรือการเลือกสัญญาณตามเวลา มาใช้เลือกส่งสัญญาณจากหัววัดมากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไปหรือทำการเปรียบเทียบสัญญาณที่วัดได้กับหัววัดที่อ่านค่าจากตัวอย่างมาตรฐานไปยังเครื่องอ่านความยาวคลื่นแสง (Spectrophotometer) ที่สามารถประมวลผลสัญญาณได้เพียงช่องสัญญาณ (Channel) เดียว เป็นการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องมือดังกล่าว

 

รายการที่

3

วันที่ยื่นต่อกรม

15/1/2003

เลขคำขอ

0301000121 (079421)

วันที่ได้รับฯ

27/7/2006

ประเทศ

TH

ผลงาน

อุปกรณ์สวิทช์ชิงเชิงแสงที่ควบคุมได้ชนิด 2x2 ที่ใช้เทคโนโลยีฟิลเตอร์กรองแสงแบบฟิล์มบางสำหรับเครือข่ายสื่อสารด้วยแสงชนิด Wavelength Division Multiplexing

ผู้ยื่นคำขอ

ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

อุปกรณ์สวิตชิ่งเชิงแสงที่ควบคุมได้ชนิด 2x2 ที่ประกอบด้วยไฟเบอร์ออพติคคอลลิเมเตอร์ และ ใช้การผสมผสานระหว่างการทำงานของฟิลเตอร์กรองแสงชนิดฟิล์มบาง และ กระจกเรียบสองหน้าในการทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของสัญญาณแสงที่มีความยาวคลื่นแสงที่ต้องการ ฟิลเตอร์กรองแสงชนิดฟิล์มบางที่เลือกใช้ และ กระจกเรียบสองหน้าจะถูกควบคุมด้วยตัวควบคุมการเคลื่อนที่ที่ทำหน้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน ส่งผลให้การจัดวางอุปกรณ์ทั้งสองทำได้ง่าย และ ความเร็วในการตอบสนองของสวิตช์ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของกระจกเรียบสองหน้า หรือ ฟิลเตอร์กรองแสงชนิดฟิล์มบาง และ ชนิดของตัวควบคุมเท่านั้น นอกจากนี้แล้วลักษณะของการประดิษฐ์นี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลของค่าสูญเสียที่ไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์สวิตชิ่งเชิงแสงแบบที่ใช้ฟิล์มบาง โดยการเลือกใช้ฟิลเตอร์กรองแสงชนิดที่มีฟิล์มกรองแสงสองด้าน และ ไม่มีฟิล์มกันแสงสะท้อนกลับ หรือ ใช้ฟิลเตอร์กรองแสงชนิดที่มีทั้งฟิล์มกรองแสงด้านหน้า และ ฟิล์มกันแสงสะท้อนกลับด้านหลังจำนวนสองชิ้นประกบเข้าหากัน โดยให้ด้านที่มีฟิล์มกันแสงสะท้อนกลับอยู่ติดกัน

 

รายการที่

4

วันที่ยื่นต่อกรม

13/1/2005

เลขคำขอ

503000054

วันที่ได้รับฯ

27/7/2006

ประเทศ

TH

ผลงาน

ระบบตรวจตราความปลอดภัยชนิดบันทึกข้อมูลภาพแบบดิจิตอล

ผู้ยื่นคำขอ

1. เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด 2. สาโรช เจริญกุล 3. สมพงษ์ กิตติปิยกุล

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

ระบบตรวจตราความปลอดภัยชนิดบันทึกข้อมูลภาพที่พัฒนาขึ้น เป็นระบบที่บันทึกภาพลง Hard disk ด้วยระบบดิจิตอล ทำให้สะดวกและได้ภาพที่มีคุณภาพคมชัด นอกจากนี้มีการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยเสริม Motion Detection, Digital Zoom และระบบการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การบันทึกภาพและการสืบค้นสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

รายการที่

5

วันที่ยื่นต่อกรม

2540/08/14

เลขคำขอ

039103

วันที่ได้รับฯ

2549/03/08

ประเทศ

TH

ผลงาน

กรรมวิธีการวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนที่บันทึกด้วยอิเล็กโตรดชนิดปิดบนผิวหนัง

ผู้ยื่นคำขอ

นพ. วิทูร ลีลามานิตย์

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

การตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลิ้น กล้ามเนื้อคอและขมับขณะเคี้ยวและกลืนด้วย อิเล็กโตรดชนิดปิดบนผิวหนัง แล้วนำสัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนที่บันทึกได้มา วิเคราะห์โดยการใช้แอลกอริทึ่มที่นำค่าเฉลี่ยสมบูรณ์ที่ได้จากการคำนวณค่าความชันของสัญญาณยกกำลัง q มาคูณกับค่าผลรวมแอมปลิจูดของความถี่ที่ j ถึง k Hz ที่ได้จากการคำนวณเพาเวอร์สเปคตรัมของสัญญาณ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้มาพล็อต จะได้รูปคลื่นที่แสดงการกลืนจริง (C-wave) รูปคลื่นที่แสดงการเตรียมกลืน (P-wave) และรูปคลื่นช่วยกลืน (A-wave) ซึ่งสามารถใช้วิเคราะห์ลักษณะการกลืนที่ปกติและที่ผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ


รายการที่

6

วันที่ยื่นต่อกรม

2545/10/28

เลขคำขอ

077627

วันที่ได้รับฯ

2549/02/17

ประเทศ

TH

ผลงาน

เครื่องควบคุมการจุดระเบิดระบบ CDI ชนิดควบคุม

ผู้ยื่นคำขอ

พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

ระบบควบคุมการจุดระเบิด CDI ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาดเล็กที่มีอยู่แล้วเป็นอุปกรณ์หลักและไม่มีอุปกรณ์ภายนอกเสริม แต่สามารถให้ค่าความแม่นยำและมีประสิทธิภาพที่ดี การประดิษฐ์นี้สามารถวัดค่าความเร็วรอบและการหน่วงองศาการจุดระเบิดได้ตามตารางที่ต้องการหน่วงที่ความเร็วรอบต่างๆโดยความแม่นยำจะไม่ขึ้นอยู่กับความถี่ของสัญญาณนาฬิกาที่ใช้นับหรืออุณหภูมิภายนอก ทำให้ลดขั้นตอนการปรับแต่งความถี่ของสัญญาณนาฬิกาและไม่ต้องทำการชดเชยอุณหภูมิใดๆเลย ในภาคการขับอุปกรณ์กำลังการประดิษฐ์นี้ใช้วงจรทรานซิสเตอร์ขยายแบบ Common Emitter ซึ่งทำหน้าที่เป็นวงจรรวมสัญญาณจากสัญญาณกระตุ้นจุดระเบิดโดยตรง ทั้งนี้เพื่อป้องกันในกรณีที่ไมโครคอนโทรลเลอร์ไม่ทำงานซึ่งการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ที่รอบต่ำๆก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้


รายการที่

7

วันที่ยื่นต่อกรม

2546/12/11

เลขคำขอ

0303001276

วันที่ได้รับฯ

2549/03/08

ประเทศ

TH

ผลงาน

ระบบตรวจตราความปลอดภัย

ผู้ยื่นคำขอ

เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

อุปกรณ์ที่เสนอเป็นระบบตรวจตราความปลอดภัยที่ส่งภาพระยะไกลไปยังศูนย์ควบคุมระบบตรวจตราความปลอดภัย อุปกรณ์นี้จะติดกับกล้องวงจรปิดและสามารถส่งสัญญาณภาพหรือข้อความเตือนในกรณีที่ตรวจจับความผิดปกติได้ผ่านทางสายโทรศัพท์หรือผ่านเครือข่ายไร้สาย (เครือข่ายระบบมือถือ) ไปยังมือถือของผู้ใช้และไปยังศูนย์ควบคุมฯ โดยศูนย์นี้จะเป็นศูนย์กลางของการเก็บข้อมูลภาพจากกล้องมารวบรวมไว้ เมื่อผู้ใช้ต้องการทราบความเคลื่อนไหวของบริเวณที่ต้องการ ก็สามารถเข้ามาตรวจสอบได้โดยผ่านทาง Internet นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลภาพที่ได้บันทึกไว้ที่ศูนย์ควบคุมฯ ซึ่งการสืบค้นข้อมูลจะสามารถทำได้รวดเร็ว โดยสามารถสืบค้นได้จาก วัน เวลา ข้อมูลเสริมที่ผู้ใช้ใส่มาพร้อมภาพ รวมถึงการสืบค้นโดยใช้คุณสมบัติของภาพ เช่น การสืบค้นโดยใช้สี


รายการที่

8

วันที่ยื่นต่อกรม

2548/03/09

เลขคำขอ

0503000385

วันที่ได้รับฯ

2549/02/17

ประเทศ

TH

ผลงาน

วงจรดีมอดูเลชั่นแบบมินิมั่มชิฟต์คีอิงในอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุระบบคลื่นพาหะรองเอฟเอ็ม

ผู้ยื่นคำขอ

ชูศักดิ์ ธนวัฒโน  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

วงจรดีมอดูเลชั่นแบบมินิมั่มชิฟต์คีอิง (Minimum Shifted Keying, MSK) ซึ่งใช้ในเครื่องรับสัญญาณวิทยุระบบคลื่นพาหะรองเอฟเอ็มออกแบบขึ้นเพื่อนำไปใช้กับเครื่องรับสัญญาณวิทยุเอฟเอ็มชนิดที่สามารถเลือกช่วงแถบความถี่ที่นอกเหนือจากช่วงแถบความถี่ของสัญญาณเสียงจากสัญญาณเบสแบนด์เอฟเอ็มมัลติเพล็ก ซึ่งช่วงความถี่ดังกล่าวอยู่ระหว่าง 56 กิโลเฮิร์ท ถึง 100 กิโลเฮิร์ทซ


รายการที่

9

วันที่ยื่นต่อกรม

2546/02/07

เลขคำขอ

0303000102

วันที่ได้รับฯ

2549/02/17

ประเทศ

TH

ผลงาน

เครื่องอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติผ่านสายไฟแรงดันต่ำที่มีระบบทวนสัญญาณ

ผู้ยื่นคำขอ

เสกสรรค์ ศาสตร์สถิต  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

ระบบอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติประกอบด้วย3 ส่วนคือ รีโมทเทอร์มินอลยูนิต (Remote Terminal Unit), คอนเซนเทรเทอร์ยูนิต (Concentrator Unit)และศูนย์เก็บข้อมูลกลางโดย รีโมทเทอร์มินอลยูนิต (Remote Terminal Unit) จะทำหน้าที่บันทึกการใช้ไฟฟ้าโดยการยิงแสงเป็นพัลส์แคบๆเพื่อวัดรอบการหมุนของจาน คอนเซนเทรเทอร์ยูนิต (Concentrator Unit)ทำหน้าที่รวบรวมการใช้ไฟฟ้าของ รีโมทเทอร์มินอลยูนิต (Remote Terminal Unit) ทุกตัวในเครือข่ายมาเก็บไว้เมื่อทางศูนย์เก็บข้อมูลกลางต้องการทราบข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของ รีโมทเทอร์มินอลยูนิต (Remote Terminal Unit) ตัวใดตัวหนึ่งหรือทุกตัว ก็จะสอบถามมายัง CU โดยผ่าน PSTN, Leased Line หรือ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Telephone Network) ส่วนศูนย์เก็บข้อมูลกลางทำหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ที่ได้รับจาก คอนเซนเทรเทอร์ยูนิต (Concentrator Unit)มาเก็บในฐานข้อมูล เพื่อทำการคำนวณและทำใบเรียกเก็บเงิน ตลอดจนทำสถิติของข้อมูล เพื่อป้องกันการลดทอนของสัญญาณในสายไฟแรงดันต่ำเครื่องอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติผ่านสายไฟแรงดันต่ำจึงมีระบบทวนสัญญาณในแต่ละเครื่องและมีวิธีในกำหนดเวลาและการกำหนดให้อุปกรณ์ทวนสัญญาณแต่ละตัวทำการส่งและรับได้อย่างเหมาะสม


รายการที่

10

วันที่ยื่นต่อกรม

2544/11/12

เลขคำขอ

0103000682

วันที่ได้รับฯ

2549/02/17

ประเทศ

TH

ผลงาน

ชุดทดลองแสงสะท้อนหักเห

ผู้ยื่นคำขอ

สุวรรณี ผู้เจริญชนะชัย  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

การประกอบชุดทดลองในการประดิษฐ์นี้ จึงเน้นการออกแบบให้เป็นชุดทดลองสำเร็จรูปที่สามารถศึกษาเรียนรู้ปรากฏการณ์พื้นฐานของแสงได้ 3 ปรากฏการณ์ คือ การสะท้อน การหักเห และการสะท้อนกลับหมด ภายในชุดเดียวกัน และเลือกใช้วัสดุโปร่งแสงและหรือโปร่งใสที่มีสีสันสะดุดตา สังเกตและมองเห็นการทดลองแต่ละอย่างได้ชัดเจน สามารถประมาณหาค่าดัชนีหักเหแสงของสารตัวอย่างที่นำมาทดลองได้


รายการที่

11

วันที่ยื่นต่อกรม

2546/04/30

เลขคำขอ

0303000372

วันที่ได้รับฯ

2548/12/28

ประเทศ

TH

ผลงาน

อุปกรณ์ควบคุมลักษณะของกำลังของลำแสงแบบดิจิตอล

ผู้ยื่นคำขอ

ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

อุปกรณ์ควบคุมลักษณะของกำลังของลำแสงแบบดิจิตอล โดยใช้การผสมผสานระหว่างการทำงานของกระจกขนาดเล็ก (Micro-mirror) ที่เคลื่อนที่ได้สองตำแหน่ง และ สัญญาณควบคุมดิจิตอลชนิดที่ปรับคาบของสัญญาณได้ สัญญาณควบคุมดิจิตอลจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนตำแหน่งของกระจกขนาดเล็กจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยที่ระยะเวลาที่กระจกขนาดเล็กอยู่ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับคาบของสัญญาณควบคุมดิจิตอลในบิตหนึ่งๆ ยกตัวอย่างเช่น คาบของสัญญาณดิจิตอลแบบ 8 บิต “10000000” จะทำให้กระจกขนาดเล็กอยู่ที่ตำแหน่งหนึ่งได้นานกว่าการใช้สัญญาณดิจิตอลแบบ 8 บิต “00000001” นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบการส่งภาพ (Imaging optical system) ในการปรับขนาดของลำแสงที่พอร์ตขาออกให้เหมาะสม ใช้ตัวกรองแสงเชิงตำแหน่งในการลดสัญญาณรบกวนเชิงแสงที่พอร์ตขาออก และ ใช้ตัวตรวจวัดแสงสำหรับการควบคุมแบบปิด ทำให้ได้ลักษณะของกำลังของลำแสงที่แม่นยำมากขึ้น


รายการที่

12

วันที่ยื่นต่อกรม

2547/02/13

เลขคำขอ

088720

วันที่ได้รับฯ

2548/12/09

ประเทศ

TH

ผลงาน

อุปกรณ์ควบคุมความเข้มแสงสำหรับใช้ในระบบมัลติเพล็กซ์ทางความยาวคลื่นแสง

ผู้ยื่นคำขอ

ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

อุปกรณ์ควบคุมระดับความเข้มของสัญญาณแสงตามการประดิษฐ์นี้จะประกอบไปด้วยท่อนำคลื่นแสงขาเข้า ท่อนำคลื่นแสงขาออก หลอดใส่ท่อนำคลื่นแสงชนิดคู่ เลนส์ (รวมเรียกว่าไฟเบอร์ออปติกคอลลิเมเตอร์ชนิดคู่) หลอดใส่ท่อนำคลื่นแสงชนิดเดี่ยว (ซึ่งเมื่อรวมกับเลนส์จะเรียกว่า ไฟเบอร์ออปติกคอลลิเมเตอร์ชนิดเดี่ยว) ตัวกรองความยาวคลื่นแสงซึ่งอยู่กับที่ อุปกรณ์ควบคุมตำแหน่งของกระจก กระจกที่สามารถควบคุมตำแหน่งได้ และ ตัวรับแสง โดยที่กระจกที่ใช้สะท้อนแสงสามารถจัดวางเพื่อให้แสงสะท้อนไปยังท่อนำคลื่นแสงขาออก หรือ สะท้อนกลับไปยังท่อนำคลื่นแสงขาเข้า ตำแหน่งของกระจกนี้ในเส้นทางเดินของแสงจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่สะท้อนไปยังพอร์ตขาออก และ ช่วยบังคับทิศทางเดินของลำแสงที่มีความยาวคลื่นแสงที่ต้องการได้ การจัดวางกระจกสามารถจัดให้อยู่ข้างหน้า หรือ ข้างหลังตัวกรองความยาวคลื่นแสงก็ได้ ส่วนตัวกรองความยาวคลื่นแสงจะทำหน้าที่สะท้อนแสงที่มีความยาวคลื่นไม่ตรงกันกับของตัวกรองความยาวคลื่นแสงด้วยมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ในขณะที่แสงที่มีความยาวคลื่นตรงกันกับของตัวกรองความยาวคลื่นแสงจะทะลุผ่านไปได้ ในกรณีที่แสงเดินทางเข้าและออกจากท่อนำคลื่นเดียวกันจะมีการใช้ออปติกคอลเซอร์คิวเลเตอร์มาช่วยในการควบคุมทิศทางการเดินของแสง และ เป็นการเพิ่มพอร์ตขึ้นอีกหนึ่งพอร์ต นอกจากนี้ยังมีการใช้ตัวดูดซับ หรือ ตัวกั้นแสงเพื่อป้องกันมิให้สัญญาณแสงที่ไม่ต้องการไปรบกวนส่วนอื่นๆ ของอุปกรณ์ควบคุมระดับความเข้มของสัญญาณนี้ และ ยังมีระบบควบคุมแบบปิดเพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด การเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ควบคุมระดับความเข้มของสัญญาณแสงตามการประดิษฐ์นี้จะช่วยให้สามารถลดจำนวนของตัวแยก และ รวมสัญญาณแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันได้


รายการที่

13

วันที่ยื่นต่อกรม

2546/10/31

เลขคำขอ

0303001113

วันที่ได้รับฯ

2547/06/04

ประเทศ

TH

ผลงาน

เครื่องอ่านค่าสีสำหรับวัดความเข้มข้นของสารเคมีและวิธีการอ่านค่าสีเพื่อหาความเข้มข้นของสารเคมี

ผู้ยื่นคำขอ

บุญส่ง สุตะพันธ์  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

เครื่องวัดเทียบสีสำหรับวัดความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ตัวกำเนิดแสงแม่สีหลัก 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง (R) แสงสีเขียว (G) และแสงสีน้ำเงิน (B) ซึ่งจะให้กำเนิดแสงส่องไปกระทบกับแถบกระดาษทดสอบหรือส่องผ่านสารละลายที่ต้องการทดสอบเข้าสู่ตัวรับแสง (Photodetector) ค่าการสะท้อนแสงหรือการทะลุผ่านของแสงของทั้งสามสี จะถูกนำมาคำนวณเปรียบเทียบว่าตรงกับสีใดในตารางสีที่ได้สอบเทียบไว้แล้ว (Look-up table) ซึ่งเก็บค่า Pi(Ri, Gi, Bi) และ Ci ไว้จำนวนหนึ่ง โดย Pi(Ri, Gi, Bi) คือ ค่าทางแสงจากตัวอย่างมาตรฐานลำดับที่ i ซึ่งจะตรงกับ Ci ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นของสารตัวอย่างลำดับที่ i โดยค่าดัชนี i มีค่าตั้ง 1, 2, 3, …, n โดยที่ n เป็นจำนวนสารตัวอย่างมาตรฐานทั้งหมดที่ได้สอบเทียบไว้แล้ว ถ้าให้ P(R, G, B) คือ ค่าทางแสงที่วัดได้ในแต่ละครั้งจากตัวอย่าง เครื่องจะหาความเข้มข้นของสารตัวอย่างที่กำลังวัดได้ โดยคำนวณหาค่า “ความแตกต่างสี” ระหว่าง P(R, G, B) กับ Pi(Ri, Gi, Bi) แต่ละจุด และเลือกค่า Pi(Ri, Gi, Bi) ที่มี“ความแตกต่างสี” มีค่าน้อยที่สุด ทำให้ทราบค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่กำลังวัดได้ ซึ่งเท่ากับค่าความเข้มข้นของสารตัวอย่างมาตรฐานนั้น นอกจากนี้ เมื่อต้องการอ่านค่าความเข้มข้นให้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนสารตัวอย่างมาตรฐาน เครื่องจะเลือกค่าเลือกค่า Pi(Ri, Gi, Bi) ที่มี“ความแตกต่างสี” มีค่าน้อยที่สุดสองค่าแรก จากนั้นทำการประมาณค่าในช่วง (Interpolation) โดยใช้หลักการหาอัตราส่วน “ความแตกต่างสี” เพื่อแปลงออกมาเป็นค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่ที่ละเอียดมากขึ้นได้


รายการที่

14

วันที่ยื่นต่อกรม

2546/03/06

เลขคำขอ

0303000177

วันที่ได้รับฯ

2547/06/04

ประเทศ

TH

ผลงาน

ระบบรักษาความปลอดภัยในลานจอดรถและคิดค่าจอดรถ

ผู้ยื่นคำขอ

วศิน สินธุภิญโญ  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

ระบบรักษาความปลอดภัยในลานจอดรถ ตามการประดิษฐ์นี้ได้จัดให้มีส่วนคำนวณค่าจอด ส่วนบันทึกภาพรถยนต์พร้อมคนขับ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบคนขับรถก่อนปล่อยให้ออกจากลานจอดรถ และส่วนค้นหาภาพที่เก็บไว้ตามเงื่อนไข เพื่อช่วยในการตามหาภาพคนที่ทำการจารกรรมรถ


รายการที่

15

วันที่ยื่นต่อกรม

2546/03/06

เลขคำขอ

0303000178

วันที่ได้รับฯ

2547/02/13

ประเทศ

TH

ผลงาน

ADSL โมเด็มแบบพอร์ตเดียวด้านฝั่งผู้ให้บริการ

ผู้ยื่นคำขอ

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  และคณะ

สถานะคำขอ

ได้รับ อนุสิทธิบัตร

รายละเอียด

ADSL โมเด็มแบบพอร์ตเดียวด้านฝั่งผู้ให้บริการสามารถรับส่งข้อมูลผ่านทางคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้เทคนิค DMT (Discrete Multi Tone) ในการ Modulation และ Demodulation สัญญาณ ผู้ใช้ สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วในการส่งข้อมูลจากฝั่งผู้ใช้ไปยังฝั่งผู้ให้บริการ (Upstream Transmission Rate) สูงสุดได้ถึง 8 Mbps และมีอัตราเร็วในการรับข้อมูลจากฝั่งผู้ให้บริการมายังฝั่งผู้ใช้ (Downstream Transmission Rate) ประมาณ 640 Kbps นอกจากนั้น ADSL โมเด็มแบบวงจรเดียวนี้จึงเหมาะกับระบบเล็กที่มีผู้ใช้ไม่มากและเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ upload ข้อมูลขาขึ้นเข้า Server ด้วยความเร็วสูงๆ มากกว่าการ download ข้อมูลขาลงจาก Server โดยสามารถจะจัดวางให้แต่ละวงจรอยู่ห่างกันเพื่อลดการรบกวนข้ามช่องสัญญาณ (Cross talk) ระหว่างการส่งขาขึ้นหรือUpstream และ การส่งขาลงหรือ Downstream


รายการที่

16

วันที่ยื่นต่อกรม

2545/08/21

เลขคำขอ

10/224590

วันที่ได้รับฯ

2547/07/20

ประเทศ

US

ผลงาน

Optical Touch Switch  Structures

ผู้ยื่นคำขอ

ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

Optical touch switches are implemented based on the use of light total internal reflection and light scattering concepts. The optical touch switch basically consists of a light source, a light guide, a photodetector, and an electronic controller. The fingertip touching on the touching surface of the optical touch switch leads to the change in electrical current produced by the photodetector. As a result, the electronic control box senses this change of electrical current and allows the electrical load to stay at the desired state. Key advantages include ease of implementation, prevention of the light beam incident directly on the user's eyes, and ability to accept both strong and weak mechanical forces from users.


รายการที่

17

วันที่ยื่นต่อกรม

2538/10/17

เลขคำขอ

028388

วันที่ได้รับฯ

2546/03/21

ประเทศ

TH

ผลงาน

เครื่องนับครั้งการใช้โทรศัพท์

ผู้ยื่นคำขอ

อมเรศ แก้วปัญญา

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

เครื่องนับครั้งการใช้โทรศัพท์ได้ถูกออกแบบมาเพื่อบันทึกจำนวนครั้งการใช้งานโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายขององค์การโทรศัพท์ฯ และมีการรับสาย ผู้ใช้สามารถตรวจสอบจำนวนครั้งการใช้ได้โดยทันทีจากเครื่องมือดังกล่าว การพิจารณาว่ามีการรับสายจะเลียนแบบวิธีการใช้เหตุผลของมนุษย์ ซึ่งได้จากการตรวจจับลำดับของสัญญาณจากชุมสายดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป


รายการที่

18

วันที่ยื่นต่อกรม

2543/11/29

เลขคำขอ

09/725055

วันที่ได้รับฯ

2545/11/19

ประเทศ

US

ผลงาน

Method and Apparatus for treating poor laryngeal-elevation disorder with sequential high voltage electrical stimulation

ผู้ยื่นคำขอ

นพ. วิทูร ลีลามานิตย์

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

The sequential stimulator the treatment of dysphagic patients comprises a unit which is capable of detecting a swallowing signal from the glossal or temporalis muscle SEMG. When a swallowing signal is recognized, a trigger signal is sent to the stimulation generation unit to release a high voltage stimuli sequentially to the suprahyoid muscles or the masseter muscles and the pharyngeal muscles in order to assist in the elevation of the larynx. This enables the pharyngeal lumen to open more widely so that food can pass through the patient's pharynx and into the oesophagus more easily during swallowing. Thus the sequential stimulator is a device for assisting swallowing in patients with dysphagia due to a variety of causes, for instance, brain injury, cerebrovascular accident, injury of the cervical nerves, muscles weakness, or old age. The stimulator is operative only when the patient attempts to swallow and provides a physiologic stimulus and provides a means of immediate relief of the swallowing difficulty. However, the device is also useful for physical therapy whereby the muscles under the chin, the masseter muscles and the pharyngeal muscles can be reeducated to contract in the normal coordinated sequence.


รายการที่

19

วันที่ยื่นต่อกรม

2540/08/07

เลขคำขอ

038983

วันที่ได้รับฯ

2545/05/02

ประเทศ

TH

ผลงาน

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดลำดับก่อนหลังสำหรับรักษาผู้ป่วยกลืนลำบาก

ผู้ยื่นคำขอ

นพ. วิทูร ลีลามานิตย์

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดลำดับก่อนหลังสำหรับรักษาผู้ป่วยกลืนลำบาก ตามการประดิษฐ์นี้ ได้จัดให้มีส่วนตรวจจับสัญญาณกลืนจากกล้ามเนื้อลิ้นในผู้ป่วย เมื่อตรวจพบสัญญาณกลืน จะมีการส่งสัญญาณจุดชนวนให้ส่วนที่สร้างสัญญาณกระตุ้นกล้ามเนื้อชนิดแรงดันสูง ปล่อยสัญญาณไปกระตุ้นกล้ามเนื้อใต้คางและคอตามลำดับ เพื่อช่วยในการยกตัวของกล่องเสียงให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้ช่องคอเปิดกว้าง ผู้ป่วยจึงกลืนอาหารผ่านช่องคอลงสู่หลอดอาหารได้สะดวก เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดลำดับก่อนหลังสำหรับรักษาผู้ป่วยกลืนลำบาก จึงเป็นเครื่องช่วยกลืน (assisting swallowing) ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนจากสาเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุทางสมอง เส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบตัน บาดเจ็บเส้นประสาทบริเวณคอ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น ซึ่งเครื่องกระตุ้นไฟฟ้านี้จะทำงานต่อเมื่อผู้ป่วยกลืน จึงทำงานตามสรีรวิทยาของร่างกาย (physiologic stimulator) จึงมีประโยชน์ในการแก้ไขความผิดปกติของการกลืนในทันทีที่ใช้เครื่อง และใช้ประโยชน์ในการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วย โดยฝึกกล้ามเนื้อคอและใต้คางให้ทำงานสัมพันธ์กับกระบวนการกลืนตามปกติ (muscle reeducation)


รายการที่

20

วันที่ยื่นต่อกรม

2540/12/08

เลขคำขอ

041138

วันที่ได้รับฯ

2544/08/07

ประเทศ

TH

ผลงาน

สารเติมแต่งน้ำมันแก็สโซลีนและน้ำมันดีเซลเพื่อช่วยในการสันดาปของเครื่องยนต์

ผู้ยื่นคำขอ

มงคล ราชนิยม

สถานะคำขอ

ได้รับ สิทธิบัตร

รายละเอียด

การประดิษฐ์นี้เป็นการหาส่วนผสมของสารเติมแต่งที่จะเติมเข้าไปกับน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ทั้งนี้สารเติมแต่งดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอในปริมาณสูงที่อุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิหล่อเย็นของเครื่องยนต์และติดไฟอย่างรวดเร็วทั่วทั้งกระบอกสูบ สารเติมแต่งต้องมีองค์ประกอบของออกซิเจนอย่างน้อย 1 ตัว มีจุระเบิดตนเองไม่ต่ำกว่า 500 องศาเซลเซียส และต้องเป็นสารที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

 

 

ผู้รับผิดชอบ งานบริหารความรู้และทุนทางปัญญา โทร. 02-564-6900 ต่อ 2403
Mail to Web Master

สงวนลิขสิทธิ์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทร.02-564-6900 ต่อ 2346 - 2355
Mail to Web Master

Valid HTML 4.01 Transitional Valid CSS! Level A Conformance to Web Content Accessibility Guidelines 1.0 พัฒนาด้วย CSS Technology